Legal Services & Resources
Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.
Contact us: +66 2-266 3698
กฎหมายความเท่าเทียมกันในการสมรสในประเทศไทย
For the English transcript of this video, please go to the following link:
วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงความเป็นไปได้ในเรื่องความเท่าเทียมกันในการสมรสในประเทศไทยซึ่งบางครั้งจะเรียกว่าการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน ซึ่งเราเคยคุยในหัวข้อนี้มามากพอสมควรในวีดีโอม้วนอื่น โดยเฉพาะในบริบทที่เกี่ยวกับสหรัฐฯ ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา ผมเองเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันในเรื่องการสมรสระหว่างผู้ที่มีเพศเดียวกันในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในบริบทที่เกี่ยวกับการเข้าเมือง
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดใหม่ของไทยอาจจะมีความคิดของตัวเองเกี่ยวกับกฎหมายความเท่าเทียมในการสมรสในประเทศไทย ขอยกข้อความมาโดยตรงจากบทความในหนังสือพิมพ์Bangkok Post, bangkokpost.com, บทความชื่อว่า Srettha backs gender equality, sex worker bills. (เศรษฐา สนับสนุนร่างกฎหมายความเท่าเทียมกันทางเพศและการขายบริการทางเพศ) ขอยกข้อความโดยตรงจากบทความมาดังนี้: "โฆษกรัฐบาลกล่าวว่า นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้สัญญาว่าจะผลักดันร่างกฎหมาย 3 ฉบับ ซึ่งรวมถึงร่างกฎหมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางการสมรส กล่าวต่อ: “ร่างกฎหมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางการสมรส มีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อที่จะอนุญาตให้คนที่มีอายุทีเหมาะสม สามารรถไปจดทะเบียนสมรสได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม ซึ่งกฎหมายฉบับปัจจุบันจะยอมรับเพียงการสมรสระหว่างเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น"
เราเคยพูดไว้ในวีดีโอม้วนอื่นแล้วว่า ผ่านมาสักพักแล้วที่ในประเทศไทยมีการพูดกันถึงว่า มันจะเป็นการควรหรือไม่ที่จะจัดเตรียมในเรื่องการครองคู่ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย หรือให้มีความเสมอภาคในการสมรสอย่างเต็มที่ โดยในการอภิปรายที่ผ่านมาในเรื่องนี้จะมีการพูดกันว่า “เอาล่ะ เราจะให้คุณมีสิทธิ์ทางกฎหมายที่จะทำได้ แต่จะไม่เรียกว่าเป็นการสมรส” หรือในบริบทของสหรัฐฯ ที่ครั้งหนึ่งเคยเรียกว่า การครองคู่ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย ซึ่งมีหลายคนที่มีความรู้สึกว่าเป็นการเลี่ยงๆไม่ตรงไปตรงมานัก เพราะเขาไม่ชอบเอาเสียเลยกับแนวคิดระหว่างการครองคู่ที่ได้รับการรับรองตามกฎหมายแทนที่จะให้มีการสมรสตามปกติ อย่างไรก็ตาม ก็คงต้องคอยเฝ้าติดตามดูว่า ในบริบทของการเข้าเมืองของประเทศไทย ประเด็นนี้จะออกมาอย่างไร จะมีการหารือเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์จากวีซ่าสำหรับผู้ที่ทำการสมรสเพศเดียวกันหรือไม่ โดยที่คู่สมรสนั้นมีคนหนึ่งที่เป็นคนไทย ต้องรอดูกันต่อไป
กล่าวโดยสรุป ดูเหมือนว่าประเด็นเรื่องความเท่าเทียมในการสมรสนี้จะเป็นประเด็นหลักตัวหนึ่งของรัฐบาลชุดปัจจุบันของประเทศไทย และดูเหมือนว่าจะมีความพยายามที่จะออกกฎหมายเพื่อเปลี่ยนกฎหมายฉบับปัจจุบัน เราจะคอยให้ข้อมูลที่ทันสมัยในช่องรับฟังนี้หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง