Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawVisa NewsApp เพื่อแสดงตัวตนสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย

App เพื่อแสดงตัวตนสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทย

For the English transcript of this video please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/visa-immigration-law/thailand-immigration-law/foreigner-presence-thailand-app/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะมีแอพพลิเคชั่นของประเทศไทยที่จะเป็นวิธีให้ชาวต่างชาติแจ้งไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของรัฐบาลไทย ว่าในเวลานั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผมคิดจะทำวีดีโอเรื่องนี้หลังจากได้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ Pattaya Mail, pattayamail.com, บทความชื่อว่า: Expanded Homestay seen as a booster for Thai tourist numbers การขยายตัวของโฮมสเตย์อาจจะเป็นตัวกระตุ้นจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าประเทศไทยขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์” (ซึ่งขณะนั้นเชื่อว่าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป และในเวลานี้อยู่ในช่วงเลือกตั้งและเมื่อสภาเปิด จะได้เห็นกันว่าพรรคร่วมรัฐบาลจะมีใครบ้าง และใครจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในเวลานี้ผู้คนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีโดยดูจากตัวเลขของโพล ซึ่งต้องรอดูต่อไปแต่ ณ เวลานี้สถานการณ์เป็นเช่นนั้น) กล่าวอีกรอบหนึ่ง: "นอกจากนี้นายพิธายังแนะนำสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อที่จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศได้นานขึ้น แต่นายพิธาไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม แต่สิ่งที่เร่งด่วนกว่าคือ นายพิธา อาจจะสั่งให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติมองว่าสร้างความหงุดหงิดมาก เช่น การต้องลงทะเบียนแจ้งที่อยู่เมื่อมาถึง (ตย.30) และการลงทะเบียนทุก 90 วัน เพื่อยืนยันที่อยู่ (ตม.47) ในขณะที่กัมพูชาสามารถที่จะหาระบบที่ง่ายกว่าและทำครั้งเดียว - คือระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อแสดงตัวตนของชาวต่างชาติในกัมพชา – ทำไมประเทศไทยจะทำไม่ได้?”

เพราะฉะนั้น คำถามที่ได้ตั้งไว้คือ ดูเหมือนว่ากัมพูชาจะมีแอพพลิเคชั่นที่ชาวต่างชาติสามารถที่จะแจ้งการอยู่อาศัยได้แล้วก็จบเรื่อง ซึ่งผมมองว่าเป็นระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นความคิดที่ดี แต่สิ่งที่ต้องจำคือ ตามที่ได้แจ้งไว้ในกฎหมายการเข้าเมืองของปี 2522 การกรอก ตม.47 ยังจำเป็นต้องใช้อยู่ ดังนั้น ถึงแม้จะมีแอพพลิเคชั่นแล้วก็ตาม ก็จะเป็นการใช้เพียงครั้งเดียวหากดูจากกฎหมายการเข้าเมืองของประเทศไทยในขณะที่ทำวีดีโอเรื่องนี้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นประเภทใดก็ตาม ก็อาจจะให้ความสะดวกกับผู้คนที่เดินทางเข้าประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ต้องสังเกตคือ ดูจากบทความนี้ก็ดูเหมือนจะมีการเจรจาเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว และผมแนะนำให้ผู้ที่กำลังรับชมวีดีโอเรื่องนี้ให้ไปอ่านรายละเอียดในบทความซึ่งอ่านแล้วเหมือนจะคุยในบริบทที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว และในความเป็นจริง นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้ ตม.30 เพราะส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป และฟอร์มของการเข้าเมืองประเภท ตม.30 จะใช้เฉพาะวีซ่าชั่วคราวหรือใครก็ตามที่อยู่ในประเทศไทยเป็นช่วงเวลาติดต่อกันตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นจะต้องมีการแจ้งที่อยู่ หรือยืนยันที่อยู่ เพราะฉะนั้น ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับนักท่องเที่ยวโดยตรง แต่สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราว ผมเข้าใจ และไม่ว่าจะมีหรือไม่มีแอพพลิเคชั่นนี้ในประเทศไทย ก็ต้องรอดูและเราจะคอยให้ข้อมูลในช่องรับฟังนี้ตามสถานการณ์ต่อไป