Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawVisa Newsการที่เงินบาทอ่อนค่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยหรือไม่?

การที่เงินบาทอ่อนค่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยหรือไม่?

For the English Transcript of this video please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/resources/thailand-real-estate-property-law/jurisprudence/could-weakening-thai-baht-be-benefit-thailand/

หลายเดือนก่อนเราเคยพูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดมาแล้วในช่องรับฟังนี้ และมันกระตุกความรู้สึกของผมอย่างมากเมื่อได้เห็นข่าวสารที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า ภาคการท่องเที่ยวได้ทำให้ GDP ของประเทศไทยมีค่าเท่ากับ 20% ของ GDP ในช่วงสี่เดือนแรกของปี 2020 รวมทั้งก่อนหน้านั้น การท่องเที่ยวได้ตกไป 90% ในช่วงที่เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid และถ้าจำไม่ผิดเราได้พูดถึงเรื่องนี้กันในราวเดือนมกราคมของปีนี้ และได้มีการอ้างอิงข้อความในประเด็นนั้นด้วย ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วง นอกจากนั้นเศรษฐกิจในภาพรวมยังชะลอตัวลงในช่วงระยะเวลาที่ยาวนานอีกด้วย คำถามที่เกิดขึ้นจากวีดีโอนี้คือ” เห็นได้ชัดว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบทางลบต่อค่าเงินบาท และจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง แต่การที่เงินบาทอ่อนค่าลงนั้น จะมีผลดีสำหรับประเทศไทยอย่างใดหรือไม่?”

เหตุผลที่คิดถึงประเด็นนี้คือ ผมได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์ Thai Examiner,จาก thaiexaminer.com, ชื่อเรื่องว่า: ผู้วางแผนของประเทศไทยจะปล่อยให้เงินบาทลอยตัว เพื่อที่จะกระตุ้นการเติบโตของทั้งภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออกในเวลานี้  ผมขอยกข้อความมาดังนี้: "ผู้บริหารชั้นสูงในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยได้พยากรณ์ว่า ในทางเทคนิคแล้ว ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงของ สภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อ เช่นเดียวกับในช่วงปี 1970 และคาดว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะอยู่ระหว่าง 2% ถึง 3% และ อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ 5% ในขณะเดียวกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศลดค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ โดยเขาคาดว่า "จะมีการลดมาตรการควบคุมการเข้าประเทศลงเพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และในขณะเดียวกันจะสามารถขยายกำลังการส่งออกได้ 5 ถึง 6% ในปี 2022" นอกจากนั้นยังกล่าวต่ออีกว่า: "ทีมงานเศรษฐกิจในรัฐบาลกำลังใช้วิธีการ “รอดู” ต่อสถานการณ์วิกฤตที่เกิดจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนในขณะนี้." (ผมเคยทำวีดีโอไว้ในช่องนี้ว่าด้วยเรื่องของเศรษฐกิจ กล่าวเฉพาะในภาคของการท่องเที่ยว เราพูดถึงเรื่องนี้ก่อนที่จะมีประเด็นเรื่องรัสเซียยูเครนด้วยซ้ำ ผมไม่ได้หมายความว่าผมอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในสถานการณ์ระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนคือ ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนหรือไม่ก็ตาม  ผมไม่คิดว่าปัญหาระหว่างรัสเซียกับยูเครนจะเป็นผลดีกับใครหรือต่อเรื่องอะไรทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของโลก แต่ผมก็เห็นอยู่บ่อยๆว่ามีการกล่าวว่าประเด็นระหว่างรัสเซียกับยูเครนคือเหตุผลของปัญหาเศรษฐกิจโลกไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย ผมว่าข้ออ้างนี้เป็นการตบตาเสียมากกว่า ผมหมายถึงว่ายังไงเสียเราก็ต้องเจอปัญหาทางเศรษฐกิจอยู่ดี เราปิดประเทศมา 2 ปี คุณคิดว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ บทความนี้ยังกล่าวต่อไปอีกว่า: "เสนอเมื่อวันจันทร์ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ณ. จุดนี้จะเป็นแบบอย่างในการฉุดรั้งค่าเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณให้ธนาคารกลาง การกระทำเช่นนี้จะเป็นการเปิดทางให้เงินบาทอ่อนค่าลงซึ่งอาจจะเป็นการกระตุ้นความสามารถในการแข่งขันในภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวในห้วงสั้นๆ  ในขณะที่รัฐบาลประเมินว่า เงินเฟ้ออาจจะลดลงภายในช่วงปีนี้ โดยเฉพาะถ้าหากสงครามในยูเครนจบลงได้" มันน่าสนใจว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

ส่วนตัวผมเองชอบที่จะติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจเป็นงานอดิเรก ผมได้อ่านบทความเรื่องเศรษฐกิจมามาก ผมคิดว่าผมสามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจที่ทันยุคทันสมัยจำนวนมาก แต่ผมไม่ถึงกับเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นความเห็นของผมคือแล้วแต่คุณจะคิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้ทำให้เกิดเงินเฟ้อขึ้นในหลายประเทศตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 2008 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อหลายประเทศ ผมชอบอ่านการวิเคราะห์ของผู้ที่ใช้ชื่อว่า Jim Rickards ซึ่งได้กล่าวถึงประเทศไทยไว้ในหนังสือชื่อ Currency Wars โดยกล่าวว่า “ในปี 1997 ประเทศไทยอยู่ในจุดที่แปลกมาก เพราะในช่วงนั้นประเทศไทยพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะ เข้าสู่ตลาดที่ทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เพื่อประคับประคองค่าเงินบาท และรักษาเงินบาทให้สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดการเงินสากลได้ ในปี 2007 สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป และพอถึงปี 2017 หรืออาจจะก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ประเทศไทยพยายามทำทุกทางเพื่อที่จะให้เงินบาทอ่อนค่าลง. ผมจำได้ว่าราว ปี2011 ที่เงินบาทเกิดผันผวน และลดลงเหลือ 28 บาทเศษ ต่อเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทางลบอย่างมากมายต่อเศรษฐกิจโดยรวมในประเทศไทย ไม่เฉพาะภาคการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่รวมถึงภาคการส่งออกด้วย ที่บริษัทผมเองก็มีปัญหาเพราะเราส่งใบแจ้งหนี้เป็นสกุลเงินบาทและลูกค้าหลายคนไม่รู้สึกตื่นเต้นเลยแม่แต่น้อยที่ได้รับใบแจ้งหนี้เป็นเงินบาท เพราะเงินบาทแข็งค่ามากขึ้นถึง 20% เมื่อเทียบกับเมื่อ 2 เดือนก่อนนั้น เพราะฉะนั้น ที่เราพูดถึงว่าการอ่อนค่าของเงินบาทจะส่งผลกระทบที่ดีต่อเศรษฐกิจของไทยโดยรวมหรือไม่นั้น ผมคิดว่าเป็นไปได้ เพราะผมเคยเห็นมาแล้ว และผมเชื่อมั่นว่าจะมีผลดีต่อภาคการส่งออกแน่นอน แต่ที่จะได้รับผลดียิ่งกว่าก็คือภาคการท่องเที่ยว ผมคิดว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการเปิดประเทศ การยุติข้อจำกัดทั้งหลายและข้อห้ามทั้งหลายสำหรับผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศไทย ถ้าหากยังไม่ยุติสิ่งเหล่านี้หรือสิ่งเหล่านั้นยังไม่หมดไป ผมคิดว่าเราจะมีปัญหาใหญ่ทีเดียวในการที่จะพยายามให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น