Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration LawA New "Permanent Partner" Visa for the USA? Thai Translation

A New "Permanent Partner" Visa for the USA? Thai Translation

For the English version please go to the following link:

https://www.legal.co.th/resources/visa-immigration-law/us-immigration-law/new-permanent-partner-visa-usa/

วีซ่าชนิดใหม่ประเภท "คู่ชีวิตถาวร" เพื่อเดินทางเข้าสหรัฐฯ

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการกำหนดวีซ่าประเภทใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่าวีซ่า "คู่ชีวิตถาวร" ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย U S. Citizenship Act of 2021 ที่ได้มีการเสนอขึ้นไปแล้ว ปัจจุบันยังเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น

สิ่งหนึ่งที่กำลังเจรจาอยู่คือ แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดให้มีวีซ่าชนิดใหม่ชื่อ “วีซ่าคู่ชีวิตถาวร” ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการเข้าเมือง วีซ่าประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้คู่รักที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่สามารถที่จะทำการสมรสในประเทศของตัวเองได้ ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับคู่สมรสที่เป็นเพศเดียวกัน ยกตัวอย่างประเทศไทยเป็นต้น เพราะปัจจุบันในประเทศไทย ยังไม่ยอมรับการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน ถึงแม้จะมีการเจรจาในหัวข้อนี้มาอย่างยาวนานหลายครั้งแล้วก็ตาม และผมมีความรู้สึกว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ในทศวรรษนี้ แต่ณ.เวลานี้ ถ้าเป็นเพศเดียวกันยังไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้

ที่จริงมีวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหานี้ได้คือการขอวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น) แต่ดูเหมือนว่าในกฎหมายฉบับใหม่นี้จะพยายามขยายประเด็นให้กว้างมากขึ้น  เพราะ วีซ่า K-1 จะใช้ได้กับผู้ที่มีสถานะเป็นพลเมืองอเมริกันเท่านั้น ดังนั้น หากผู้ที่มีถิ่นฐานถาวรในสหรัฐฯมีคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกันและไม่สามารถทำการสมรสในเขตอำนาจศาลนอกสหรัฐฯได้ บุคคลผู้นั้นก็จะไม่สามารถยื่นขอรับสิทธิพิเศษในสิทธิประโยชน์ของการเข้าเมืองให้กับคู่หมั้นในฐานะคู่สมรสของผู้มีถิ่นฐานถาวรในสหรัฐฯในการเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ ดังนั้น การจัดเตรียมให้มี “วีซ่าคู่ชีวิตถาวร”ตามที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ จึงอาจเป็นผลให้ กลุ่มบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเข้าเมือง 

ทั้งหมดนี้ยังคงต้องคอยดูกันต่อไป ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากทีเดียว ซึ่งจะทำให้เค้าโครงของการย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวมายังสหรัฐฯ มีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า