Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอทำวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯสำหรับพลเมืองไทย

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอทำวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯสำหรับพลเมืองไทย

For the English translation of this video please go to the following link:

https://www.legal.co.th/resources/visa-immigration-law/us-immigration-law/misconceptions-about-us-tourist-visa-applications-thais/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงวีซ่านักท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่ถือสัญชาติไทย ซึ่งวีดีโอม้วนนี้จะกล่าวเฉพาะกรณีของประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าผมได้อ่านข้อความในหนังสือพิมพ์ Pattaya Mail, ในหัวข้อเรื่อง Pattaya Legal Corner: ทำไมคนไทยบางรายที่ยื่นขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวจึงถูกปฏิเสธ ซึ่งเป็นบทความที่ดีมาก อยากจะให้ผู้ที่รับชมวิดีโอนี้กลับไปอ่านบทความดังกล่าวอีกครั้ง

ก่อนอื่นจะขอกล่าวว่า บทความนี้เป็นบทความที่พูดกว้างๆ และดูเหมือนจะพูดถึงคำร้องสำหรับประเทศอังกฤษและสหภาพยุโรปเป็นหลัก แต่ก็มีการกล่าวถึงคำร้องเข้าสหรัฐฯอยู่ด้วยซึ่งเป็นการพูดอย่างกว้างๆเกี่ยวกับวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว มีอยู่ 2-3 จุดที่ผมอยากจะทำความความเข้าใจให้ชัดเจน โดยในบทความได้กล่าวว่า : "ประสบการณ์ของเราก็คือ สถานทูตหลายแห่ง หรือบริษัทที่ได้รับมอบหมายจากสถานทูตให้เป็นตัวแทนในการทำวีซ่ามักจะต้องการทราบเหตุผลอย่างยิ่งว่าทำไมคนไทยที่เดินทางไปท่องเที่ยวจึงจะเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อสิ้นสุดการพักร้อน และการที่เป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินในประเทศไทย ดูจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์" (จุดนี้ผมจะกลับมาอธิบายเพิ่มเติม) "นอกจากนี้ ถ้ามีหน้าที่การงานที่มั่นคงและมีหลักฐานของรายได้พร้อมทั้งมีหนังสืออนุญาตจากนายจ้างที่อนุญาตให้ไปพักร้อนก็จะมีประโยชน์เช่นกัน" (ประเด็นนี้เดี๋ยวผมจะกล่าวเพิ่มเติม) "นอกจากนั้น สถานะบัญชีเงินฝากในธนาคารจะต้องแสดงว่า บุคคลผู้ยื่นคำร้องไม่ได้มีฐานะที่ไม่เกื้อกูลต่อการเดินทางท่องเที่ยว สถานทูตต่างๆมักจะมีความโน้มเอียงไปในทางตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าจะมีการฝากเงินก้อนเข้าธนาคารโดยบุคคลที่ 3"

ทั้งหมดที่กล่าวในบทความนี้เป็นความจริงเท่าที่จะเป็นได้ แต่ต้องอธิบายให้ชัดเจนอีกหน่อย  มีหลายคนที่ยื่นขอวีซ่านักท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯมักจะเข้าใจว่า  สถานทูตสหรัฐฯที่กรุงเทพฯจะออกวีซ่านักท่องเที่ยวให้กับผู้ที่ถือสัญชาติไทยด้วยปัจจัยหลักเหล่านี้  คือการที่มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศบ้านเกิด หรือกับประเทศที่ 3 มากกว่าสหรัฐฯ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 214(b) ของกฎหมายการเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงศุลจะต้องพยายามหาความจริงข้อนี้ออกมาให้ได้ในการสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้น สำหรับในกรณีของคนไทยจะต้อง "มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นกับประเทศบ้านเกิด และมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆกับสหรัฐฯ” และหลายคนจะมองข้ามความสัมพันธ์แบบหลวมๆที่ว่านี้ เพราะคนส่วนใหญ่จะพะวงเกี่ยวกับการนำเสนอหลักฐานเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หลักฐานเงินฝากธนาคาร และหลักฐานทรัพย์สินต่างๆ เป็นต้น ซึ่งหลายครั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำการสัมภาษณ์จะถามว่า “เราเชื่อว่าคุณมีความผูกพันที่แน่นแฟ้นกับประเทศไทย แต่คุณมีความสัมพันธ์แบบหลวมๆกับสหรัฐฯ จริงหรือไม่?” นี่ก็อาจจะทำให้คุณไปไม่เป็นเหมือนกันโดยเฉพาะถ้ามันจะนำไปสู่การถูกปฏิเสธการออกวีซ่า บ่อยครั้งที่เราพบกรณีแบบนี้ในการขอวีซ่าให้กับคู่สมรสของพลเมืองอเมริกัน เพราะสถานะของคำว่า “การแต่งงาน” ในตัวของมันเองนั้น ย้อนแย้งโดยตรงกับคำว่า “ความสัมพันธ์แบบหลวมๆกับประเทศสหรัฐฯ”นั่นเอง ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับกรณีของคู่หมั้นของพลเมืองอเมริกัน ดังนั้น ผู้ที่เดินทางไปสหรัฐฯเพื่อการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีความสัมพันธ์กับใครอื่นใดในสหรัฐฯ ก็อาจไม่มีประเด็นเหล่านี้เกิดขึ้น แต่ก็อาจมีประเด็นอื่นๆเกิดขึ้นได้เหมือนกัน   

เพราะฉะนั้นโดยสรุปแล้ว ถึงแม้บทความที่อ้างถึงข้างต้นจะมีประโยชน์ แต่มันก็ไม่ได้เจาะลึกลงไปถึงวีซ่าเข้าสหรัฐฯโดยตรง แต่จะมุ่งไปที่สหภาพยุโรปและอังกฤษเป็นหลัก ซึ่งยังมีประเด็นอื่นๆเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่บทความนั้นได้กล่าวถึงอยู่ด้วย แต่ถ้าพูดถึงกรณีการขอวีซ่าประเภทท่องเที่ยวเข้าสหรัฐฯแล้วล่ะก็ ยังมีประเด็น “ความสัมพันธ์แบบหลวมๆ” ตามมาตรา214b ของกฎหมายการเข้าเมืองของสหรัฐฯ อีกเรื่องหนีงที่คุณควรจะต้องระมัดระวังไว้ด้วย