Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

[email protected]

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น)จากประเทศไทบ: การจดทะเบียนสมรสกับการจัดพิธีสมรส

วีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น)จากประเทศไทบ: การจดทะเบียนสมรสกับการจัดพิธีสมรส

For the English transcript of this video please go to the following link:

https://www.legal.co.th/resources/visa-immigration-law/us-immigration-law/k-1-visas-thailand-marriage-registration-vs-wedding-ceremony/

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น) ในประเด็นของการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย กับการจัดพิธีสมรส

สิ่งที่ต้องเข้าใจมี 2 อย่างคือ การสมรสจะมีผลทำให้การยื่นขอวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น)ของคุณเปลี่ยนไป เพราะถ้าหากจดทะเบียนสมรสแล้ว คุณไม่มีสิทธิ์ที่จะขอวีซ่าประเภทคู่หมั้นได้อีก เพราะฉะนั้น ถ้ามีผู้ใดกำลังมองหาทางเลือกเกี่ยวกับการเข้าเมืองสำหรับคู่หมั้นชาวต่างชาติ ซึ่งในกรณีนี้กำลังกล่าวถึงประเทศไทย ให้ตรวจสอบให้ดีก่อนว่าต้องการที่จะจดทะเบียนสมรสหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามแรกที่ต้องถามตัวเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพึงระลึกถึงคือ ในขณะที่กำลังทำเรื่องนี้ เราอยู่ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 เราจะเห็นได้ถึงความล่าช้าของกระบวนการ เราเห็นถึงความอกสั่นขวัญแขวนและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับการจดทะเบียนสมรส เพราะสำนักงานเขตหลายแห่งต่างดำเนินการตามมาตรการรักษาสุขภาพของประชาชนแตกต่างกันออกไป ทำให้การขอจดทะเบียนสมรสระหว่างชาวต่างชาติกับผู้ที่ถือสัญชาติไทยกลายเป็นเรื่องยุ่งยากขึ้นมา ซึ่งสถานการณ์ในระยะต่อไปอาจจะดีขึ้น เมื่อทุกอย่างมีการคลี่คลายเข้าสู่สภาพปกติ  แต่ในขณะนี้ยังเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นว่า คุณต้องการจดทะเบียนสมรสจริงๆหรือเปล่า เพราะอาจจะเป็นวิธีที่ดีกว่าก็ได้ถ้าหากใช้วีซ่า K-1 ในการนำคู่หมั้นชาวต่างของคุณเดินทางเข้าสหรัฐฯ ซึ่งก็จะมาเข้าสู่ประเด็นสุดท้ายของวิดีโอนี้ คือ การจัดพิธีสมรส หลายคนมักจะถามผมว่า “ถ้าหากจัดพิธีสมรสจะไม่ถือว่าเป็นการแต่งงานโดยสมบูรณ์แบบแล้วหรือ?” อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นในประเทศไทย เพราะในประเทศไทยมีสำนักงานทะเบียนที่จะทำเรื่องนี้ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยและแต่งงานจะต้องไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานทะเบียนเท่านั้น การจัดพิธีสมรสมิได้มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด

ก่อนที่ผู้รับฟังจะตัดสินใจกระทำในสิ่งใด ก็น่าจะติดต่อผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเพราะเรื่องการแต่งงานในประเทศไทยมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป นอกจากนี้ ในอดีตผมเคยเห็นบางคนแต่งงานโดยไม่ได้ตั้งใจ คือชาวต่างชาติถูกพาไปที่สำนักงานเขตและได้ลงนามในเอกสารบางอย่างลงไป โดยไม่รู้ว่ากำลังลงนามในเอกสารการสมรส ซึ่งผมไม่ได้พบปัญหานี้มานานแล้ว แต่ก็ต้องระมัดระวังและคิดอย่างรอบคอบว่าจะดำเนินการอย่างไร ถ้าหากคุณเพียงต้องการที่จะขอวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น) และยังไม่ต้องการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย คุณสามารถที่จะจัดพิธีสมรสได้ ในสหรัฐฯเราเรียกว่าพิธีสมรส แต่ตามกฎหมายไทยแล้วพิธีดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อผูกมัดทางกฎหมายแต่อย่างใด