Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesThailand Criminal LawCriminal Jurisprudence Thailandการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยถูกกฎหมายหรือ?

การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยถูกกฎหมายหรือ?

For the English transcript of this video please go to the following link: 

https://www.legal.co.th/index.php/resources/search/?search_paths%5B%5D=&query=Vaping

วีดีโอเรื่องนี้จะกล่าวถึงการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย และสำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบเรากำลังจะพูดถึงกิจกรรมที่ผู้สูบบุหรี่หลายคนเลือกที่จะใช้บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งจะไม่มีควันแต่จะมีไอระเหยออกมา  มีผู้คนจำนวนหนึ่งที่ชื่นชอบกับรสชาติและมีความสุขกับการสูบมัน ผมไม่เคยคิดว่าผมจะเจาะลึกเรื่องประเด็นเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้เราเคยทำวีดีโอไปแล้วเรื่องหนึ่งที่เราได้คุยกันว่า "มันเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย” และเดี๋ยวผมจะคุยถึงรายละเอียดที่อยู่ในบทความนี้ ซึ่งผมค่อนข้างจะมองต่างออกไปจากบทความนี้ แต่ถ้าหากมีใครที่ไม่เห็นด้วย ผมยินดีที่จะปรับความเข้าใจ และนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ผมเพียงแต่ต้องการที่จะส่งต่อข้อมูลที่ผมได้มาตามที่ผมเข้าใจในขณะนั้นอย่างดีที่สุด 

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้นำบทความนี้ให้พรรคพวกในสำนักงานอ่าน ซึ่งเราทุกคนได้ตรวจดูอย่างรอบคอบแล้ว และเห็นว่าควรจะทำวีดีโอเรื่องนี้ โดยยึดถือบทความจาก Coconuts, coconuts.co, บทความชื่อว่า: No, vaping and vapes are not illegal in Thailand, here is why. (บุหรี่ไฟฟ้าและการสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย และเหตุผลก็คือตามนี้) ต้องบอกอีกครั้งว่า เรื่องนี้มีความละเอียดอยู่บ้าง แต่ก่อนอื่นผมต้องการที่จะขอพูดถึงทความนี้ก่อน และผมขอแนะนำผู้ที่รับชมวีดีโอเรื่องนี้ให้ไปดูรายละเอียดทั้งหมดในบทความนี้อีกครั้ง เพราะมีข้อมูลเยอะและมีมุมมองที่น่าสนใจด้วย

ขอยกข้อความมาโดยตรงดังนี้: "การนำเข้ายังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายภายใต้พระราชบัญญัติศุลกากร  ซึ่งยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ประกาศห้ามการขายบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อปี 2015" "และมีบทลงโทษที่รุนแรง - หลังจากนั้น 4 ปีเมือมีการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2019 กฎหมายในส่วนนี้ได้ถูกถอนออกไป แต่อย่าเพิ่งเชื่อเราทีเดียว บทความได้กล่าวต่อไปว่า: “ทนายความ ชื่อ นายสุขเปรม สัจจะเดชะ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในบริษัทกฎหมายในกรุงเทพฯชื่อ บ. WSR International ได้กล่าวกับ Coconuts ว่า "ไม่มีกฎหมายที่ห้ามเรื่องการครอบครอง" นายสุขเปรมได้เจาะลึกในประเด็นนี้และได้กล่าวถึงมาตรา 36, 38 และ 56 ในกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้ถูกถอนออกไปในปี 2019 การห้ามนี้อยู่ในมาตราที่ 36 และ 38 เมื่อถอดถอนออกไป จึงทำให้ไม่มีผลบังคับ แต่การห้ามการนำเข้าที่มีมาตั้งแต่แรกยังคงมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นายสุขเปรมกล่าว่า "มีกฎหมายที่ห้ามการนำเข้า แต่ พ.ร.บ.ศุลกากรไม่มีการกล่าวถึงการครอบครองสิ่งนี้" และนายสุขเปรมได้เพิ่มเติมอีกว่า เท่าที่รู้ สาธารณชนก็ไม่มีใครสังเกตุถึงประเด็นนี้ ซึ่งผมเองก็ไม่สังเกตด้วย บทความกล่าวต่อไปว่า: "ประเด็นนี้ยังไม่เคยมีการพูดถึงในสื่อ" และคุณสุขเปรมก็บอกว่าต้องใช้ความระมัดระวังเพราะถึงแม้ประชาชนอาจมีข้อมูลอันนี้ แต่คงไม่ฉลาดนักที่จะนำประเด็นนี้มาโต้เถียงกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ แต่อาจจะเหมาะสมกว่าถ้าเอาไปแถลงในศาล และคุณสุขเปรมก็ได้กล่าวว่าตัวเองก็รู้จัก 2 คนที่ได้นำประเด็นนี้ไปแถลงต่อศาลและสามารถพ้นผิดได้สำเร็จ" บทความนี้ยังมีข้อมูลอีกเยอะและน่าสนใจด้วย ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการนำเข้าสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ซึ่งทนายสุขเปรม สัจจเดชะ ซึ่งเป็นทนายความในประเทศไทยได้กล่าวเอาไว้ ซึ่งเรานำบทความนี้มาจาก Coconuts, coconuts.co, และผมขอให้ผู้ที่กำลังชมวีดีโอเรื่องนี้ ได้ตรวจสอบรายละเอียดของบทความนี้อีกครั้ง เพราะมีหลายแง่หลายมุมที่น่าสนใจ

ถ้าหากคุณเป็นชาวต่างชาติในประเทศไทย ถ้าคุณนำอุปกรณ์เหล่านี้ติดตัวเข้ามาในประเทศไทย ถือว่าเป็นการละเมิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร คุณมีปัญหาแน่นอน แต่ในขณะเดียวกัน หากคุณอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว มันก็ยังคลุมเครืออยู่ ถ้าหากคุณนำเข้ามาก็ชัดเจนเลยว่าคุณละเมิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากร ซึ่งผมก็ได้คุยประเด็นนี้กับพรรคพวกในสำนักงานแล้ว ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาในประเทศไทยแล้ว ต่อมาได้ซื้อสิ่งเหล่านี้จากร้านริมถนน ซึ่งผมว่ามันก็มีขายอยู่ในตลาดมืดทั่วไปนั่นแหละ แบบนี้ก็จะกลายเป็นคนละเรื่องไปเลย บทความนี้มีหลายแง่หลายมุม แนะนำให้คุณกลับไปอ่านดูอีกครั้ง จุดปลีกย่อยของเรื่องนี้คือ ถ้าหากคุณเป็นชาวต่างชาติและเดินทางมาประเทศไทย คงจะไม่เป็นความคิดที่ดีที่จะพยายามตีความในรายละเอียดของ พ.ร.บ. ศุลกากร เกี่ยวกับ การใช้บุหรี่ไฟฟ้าและการนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาในประเทศ เพราะฉะนั้นคำแนะนำที่ดีที่สุดของผมคือละเว้นการซื้อหรือการครอบครอง รวมทั้งละเว้นการนำอุปกรณ์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าเหล่านี้เข้ามาในประเทศไทยจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

ถึงกระนั้นก็ดี กฎหมายมีความไม่ชัดเจนเหมือนกับที่ออกมาตอนแรก และทนายความผู้ที่ได้ทำการวิเคราะห์นี้ ผมคิดว่าทำได้ดีมาก แต่ก็ยังมีรายละเอียดอื่นๆอีกมาก ในบทความนี้มีข้อมูลเชิงลึกที่ผมว่าน่าสนใจทีเดียว และมีหลายแง่หลายมุมมากกว่าที่เราเข้าใจตอนแรก ซึ่งเราจะคอยให้ข้อมูลที่ทันสมัยในช่องรับฟังนี้ ตอนแรกผมเองก็ไม่คิดว่าผมจะติดตามประเด็นนี้วันต่อวัน แต่มันก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง และหากเราพบว่ามีประเด็นอะไรที่แตกต่างออกไป เราจะแจ้งให้ทราบในช่องรับฟังนี้ต่อไป