Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration LawK-1 วีซ่าประเทศไทย: DS-160

K-1 วีซ่าประเทศไทย: DS-160

Please see English language transcript at: DS-160.

วีดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึงใบคำร้อง DS-160 ในแง่ของ K-1 Visa ที่ออกในสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย

สิ่งแรกที่จะกล่าวคือคำร้อง DS-160 จะคล้ายคำร้อง DS-260 ซึ่งใช้เมื่อยื่นคำร้องวีซ่าถาวร  DS-160 จะเป็นคำร้องที่ใช้ทั่วไปสำหรับวีซ่าชั่วคราวเช่น B-1 หรือ B-2 แต่เมื่อนำมาใช้กับการขอวีซ่าคู่หมั้น K-1 นั้น DS-160 จะใช้ต่างกับวีซ่าชั่วคราวชนิดอื่นเพราะวีซ่า K-1 จะเป็นวีซ่าที่มีลักษณะเฉพาะ คือผู้ที่ยื่นคำร้อง

K-1 มีความตั้งใจที่จะเดินทางไปสหรัฐฯและ ปรับสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือผู้ถือกรีนการ์ดและอาศัยอยู่ในสหรัฐฯต่อไปนั่นเอง  ฟอร์ม DS-160 ในแง่ของ K-1 จะมีลักษณะคล้ายกับ DS-260 ที่ใช้กับวีซ่าถาวร คำถามในคำร้องจะคล้ายกัน รายละเอียดที่จะต้องกรอกในวีซ่า K-1 และ DS-160 จะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคู่หมั้น ณ. เวลาที่ยื่นคำร้อง นอกจากนี้ ต้องระมัดระวังในการกรอก DS-160 เพราะถ้าหากกรอกข้อมูลผิดพลาด อาจจะต้องเกิดความล่าช้าในกระบวนการเพราะจะต้องไปแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาด

อีกอย่างหนึ่งที่ควรทราบคือ ฟอร์ม DS-160 ในแง่ของวีซ่าชั่วคราว จะเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของห่อหมายเลข 3 (packet 3)  ซึ่งเคยกล่าวถึงในวีดีโออื่นมาแล้ว แต่ในแง่ของ DS-160 จะมีส่วนต่างกับวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าอื่นๆเพราะจะมีส่วนคล้ายคำร้อง DS-260 ซึ่งเป็นคำร้องที่ออกแบบมาใช้กับวีซ่าถาวร (เพราะในความเป็นจริง วีซ่า K-1 จะผ่านกระบวนการเหมือนเป็นวีซ่าถาวร) หน่วยวีซ่าถาวรจะดูแลกระบวนการของคำร้องวีซ่า K-1 ซึ่งต่างกับวีซ่าชั่วคราวอื่นๆ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่ดูแลวีซ่าชั่วคราวจะเป็นผู้ดูแลเช่นเดียวกับ B-1 และ B-2 นอกจากนี้กฎ 214-b ของกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองจะไม่มีผลกับ K-1 เพราะเข้าใจอยู่แล้วว่าผู้ถือวีซ่า K-1 มีความต้องการที่จะอาศัยอยู่ในสหรัฐฯอย่างถาวร ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใช้กฎ 214-b ในกระบวนการของวีซ่า K-1