Integrity Legal - Law Firm in Bangkok | Bangkok Lawyer | Legal Services Thailand Back to
Integrity Legal

Legal Services & Resources 

Up to date legal information pertaining to Thai, American, & International Law.

Contact us: +66 2-266 3698

info@integrity-legal.com

ResourcesVisa & Immigration LawUS Immigration Lawตู่มือการพิสูจน์การหลอกลวง

ตู่มือการพิสูจน์การหลอกลวง

Please see English language transcript at: Immigration Fraud.

วีดีโอฉบับนี้จะกล่าวถึง”แผ่นบันทึกที่แสดงถึงการฉ้อฉล” ซึ่งถือว่าเป็น ”เอกสารภายใน” ที่สำนักตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติ ของสหรัฐฯ (USCIS) ใช้เมื่อตรวจสอบกรณีใดกรณีหนึ่ง เพื่อหาความเป็นไปได้ว่าบุคคลใดเข้าข่ายการฉ้อฉลหลอกลวงหรือบิดเบือนความจริงหรือไม่ด้วยการให้สถานะ“ธงแดง” ซึ่งจะมีคำแนะนำสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ทำการสัมภาษณ์ในเรื่องสิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับผู้ที่กำลังรับการสัมภาษณ์ ซึ่งแรกเริ่มจะดูจากภาษากายเช่น ประหม่าเกินไป  พูดมากเกินไป ขาดความรู้เกี่ยวกับเรื่องง่ายๆทั่วไป  มาสัมภาษณ์สาย มีคนอื่นช่วยตอบคำถาม ไม่สนใจที่จะคุย ไม่สบตาหรือตอบเลี่ยงไปมา ตอบกว้างๆ หรือตอบโดยมีคนอื่นหรือมีทนายคอยขัดจังหวะ หรือคอยหันเหความสนใจ    บางอย่างอาจดูขัดแย้งกันเช่น คนพูดมากเกินไปก็เป็นที่น่าสงสัยและในขณะเดียวกันคนพูดน้อยเกินไปก็น่าสงสัยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อท่านนั่งอยู่ต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ พึงระลึกว่า เจ้าหน้าที่กำลังทำหน้าที่ด้วยความมุ่งหมายที่จะรวบรวมข้อสังเกตทุกอย่างที่สัมผัสได้อย่างรวดเร็วตามคู่มือเพื่อนำมาพิจารณาโดยรวมว่ามีข้อใดที่น่าสงสัยเป็นพิเศษที่อาจบ่งชี้ว่าบุคคลผู้นั้นมีพฤติกรรมฉ้อฉลหลอกลวงหรือไม่

ตัวบ่งชี้อื่นๆถึงพฤติกรรมการฉ้อฉลหลอกลวงได้แก่ เอกสารที่นำมาแสดงออกโดยทันทีก่อนวันสัมภาษณ์ หรือออกอย่างทันทีหลังวันสัมภาษณ์ ส่งเอกสารมากเกินไป ภาพถ่ายได้รับการปรับแต่งมากเกินไป

ยื่นภาษีที่ผิดปกติ การเงินมีการเคลื่อนไหวที่มีมากผิดปกติ ยื่นคำร้องขอวีซ่าบ่อยครั้ง คนกรอกข้อมูลในเอกสารเป็นคนที่น่าสงสัยกำลังถูกเพ่งเล็งอยู่ คนที่เตรียมเอกสารและคนที่รับรองเอกสารเป็นคนเดียวกัน มีจดหมายชี้เบาะแสว่าเป็นบุคคลที่น่าสงสัยหรือมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานว่าเป็นบุคคลที่น่าสงสัยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีการถอนคำร้องหลังจากเจ้าหน้าที่ขอข้อมูลเพิ่มเติมเป็นต้น 

สิ่งที่ผมมองว่าน่าสนใจคือ  การยื่นภาษี การเคลื่อนไหวทางการเงิน และรูปภาพที่ปรับแต่ง และมีลูกค้าหลายคนเคยถามผมเรื่องหลักฐานทางภาพถ่ายโดยเฉพาะในกรณีที่ทำวีซ่า K-1 (ประเภทคู่หมั้น) ซึ่งภาพต้องชัดแต่ถ้าปรับแต่งจนดีเกินไปก็อาจไม่เหมาะสมเพราะเหตที่ได้กล่าวข้างต้น  อีกข้อหนึ่งที่พบบ่อยที่เป็นปัญหาได้คือ ถ้าหากผู้ยื่นคำร้องอาศัยอยู่ต่างประเทศและอาจมีรายได้ที่น้อยเกินกว่าที่จะมียื่นภาษี เมื่อถึงเวลาที่จะยื่นคำร้องจะต้องทำการยื่นภาษีย้อนหลัง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้เจ้าหน้าที่ใช้เวลาพิจารณานานขึ้น จึงรับผลการสัมภาษณ์ช้าลง บางครั้งเจ้าหน้าที่อาจระบุว่า “อยู่ระหว่างดำเนินการ”(administrative processing)  เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบเอกสารทั้งหมดอีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าไม่มีอะไรน่าสงสัยอีก

ใบคำร้อง I-130 ที่ใช้กับวีซ่าคู่สมรส (ซึ่งจะคล้ายกับวีซ่าคู่หมั้น) ก็จะมีสิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับการฉ้อฉลหลอกลวงด้วยเช่นกัน เช่นมีคนต่างด้าว เดินทางเข้าสหรัฐฯด้วยวีซ่านักท่องเที่ยวและภายในไม่นานก็สมรสกับพลเมืองอเมริกันและขอยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ (ขอแนะนำให้ดูวีดีโอที่กล่าวถึง “กฎ 30 60 90” และกฎที่ออกใหม่คือ “กฎ 90 วัน” ซึ่งจะให้รายละเอียดครบถ้วน)  

นอกจากนี้สิ่งที่เจ้าหน้าที่จะเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ ประวัติการสมรสที่ผิดปกติ การมีลูกติดมา มีลูกจำนวนมากผิดปกติและอายุของเด็กห่างกันมาก วันที่ในใบคำร้องผิดสังเกต วันหย่าและวันสมรสใกล้กัน (ซึ่งพบบ่อยโดยเฉพาะในกรณีวีซ่าคู่หมั้น เพราะบางครั้งต้องรอผลการหย่าซึ่งบางรัฐใช้เวลานาน ดังนั้นวันแต่งงานกับคู่สมรสคนใหม่จะใกล้กับวันหย่ากับค่สมรสคนเดิม และในกรณีแบบนี้ ผมจะทำจดหมายอธิบายสถานการณ์แนบกับคำร้อง) อีกข้อหนึ่งที่อาจเป็นที่น่าเพ่งเล็งเป็นพิเศษคือ ความแตกต่างของอายุของคู่สมรส ซึ่งจะพิจารณาประกอบกับตัวบ่งชี้อย่างอื่นด้วย ซึ่งในบางประเทศ อย่างเช่นที่ประเทศไทย อายุของคู่สมรสต่างกัน 10 ปีไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติ แต่โดยรวมแล้วผมเห็นว่าเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาตรวจสอบอย่างละเอียด ไม่ได้มองเพียงตัวเลขของอายุที่ต่างกันแต่เพียงอย่างเดียวแล้วปฏิเสธคำร้อง ยังมีข้อสังเกตอื่นๆที่แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ผิดปกติภายในครอบครัว ซึ่งมักจะพบได้บ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่จะนำมาพิจารณาประกอบการให้สถานะ “ธงแดง”ด้วย เช่น การมีลูกเลี้ยงหลายคนและจะพาเข้าสหรัฐฯเป็นบางคน หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ผิดปกติ  รวมถึงการตกงาน หรือสถานะทางการเงินของผู้ยื่นคำร้อง เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประเด็นในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่เสมอ บางครั้งคนเตรียมเอกสาร คนรับรองและคนจัดพิธีแต่งงานเป็นคนเดียวกัน ซึ่งอาจเจอไม่บ่อยนักแต่อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าน่าจะมีสิ่งผิดปกติในการยื่นคำร้องครั้งนี้ อีกกรณีที่น่าสังเกตคือคู่หมั้น 2 คนอาจมีนายจ้างหรือผู้ยื่นคำร้องคนเดียวกัน หรือการที่เคยยื่นวีซ่าคู่หมั้น 6 ครั้งแล้ว แต่ไม่เคยสมรส และครั้งนี้เป็นการยื่นครั้งที่ 7 อาจเป็นจุดที่จะโดนเพ่งเล็งได้

ดังนั้น สรุปโดยรวมแล้ว สาระสำคัญในวิดีโอนี้ก็คือ จะมีตัวบ่งชี้หลายตัวที่ กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและสัญชาติของสหรัฐฯ (USCIS)กำหนดไว้สำหรับการให้สถานะ “ธงแดง”ต่อกรณีทีอาจเป็นไปได้ว่าจะเป็นกรณีการฉ้อฉลหลอกลวง ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป  ซึ่งในหลายกรณี ตัวบ่งชี้เหล่านี้อาจหาคำตอบให้ได้ และในบางกรณีตัวบ่งชี้ทั้งหลายเหล่านี้ สามารถยับยั้งไม่ให้เกิดการฉ้อฉลหลอกลวงขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละกรณีตามที่กล่าวแล้ว แต่ก็เป็นความคิดที่ไม่เลวนักที่จะติดต่อเพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายการเข้าเมืองที่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ